วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555



ศิลปะสากล(art instructor)


 ศิลปะสากล

มีพื้นฐานมาจากศิลปะตะวันตก และมีวิวัฒนาการมาหลายยุคกลายสมัยจนอิทธิพลขยายไปยังชาติต่างๆในโลกกว้างขวาง คำว่า “ สากล ” ความหมาย

ยตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั่วไประหว่างประเทศ ศิลปะสากลจึงเป็นศิลปะที่มีการผสมผสานแนวความคิด ตลอดจนรูปแบบต่างๆ ไว้อย่างกว้างขวาง มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และมีวิธีการสร้างสรรค์ผลงานได้โดยอิสระ ดังนั้น ศิลปะสากลจึงจำแนกได้ตามช่วงเวลาและยุคสมัยได้อย่างกว้างๆ ดังนี้


 สมัยก่อนประวัติศาสตร์   สมัยก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ยุค ดังนี้

1. ยุคหิน นับตั้งแต่สมัยหินเก่าเป็นต้นมา มนุษย์รู้จักใช้ความคิดประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ตั้งแต่เครื่องมือที่ทำมาจากหินหยาบ ๆ หรือกระดูกสัตว์ รู้จักใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย รู้จักรวมกลุ่มทางสังคม รู้จักก่อไฟ และสามารถพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาระหว่าง 14,500 ปีก่อน ค.ศ. มนุษย์รู้จักการเขียนสี ขูดขีดเป็นรูปสัตว์หรือภาพเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการล่าสัตว์ อีกทั้งยังมีการวาดรูปลายเรขาคณิตไว้บนผนังถ้ำ และเพิงผาต่างๆ อีกด้วย ดังที่พบหลักฐานในประเทศฝรั่งเศสและทางภาคเหนือของประเทศสเปน ภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุด พบอยู่ในถ้ำอัลตามิรา ประเทศสเปน เป็นภาพวัวไบซันกำลังแสดงท่าทางเคลื่อนไหวในลักษณะท่าวิ่งหรือกระโดด ภาพที่วาดจะระบายด้วยสีแดง ดำ และเหลือง มีเส้นตัดรอบนอกเป็นสีดำและพบถ้ำลาส์โกซ์ (Lascaux) ประเทศฝรั่งเศสเป็นภาพวาดสุนัขป่ากวางเรนเดียร์ ม้า ช้างโบราณ และสัตว์อื่นๆ ส่วนประติมากรรมวิธีจะเริ่มต้นจากการขูดขีดก่อน หลังจากนั้นจึงพัฒนาไปสู่การแกะสลัก การตกแต่งสีต่างๆ ให้สวยงาม วัสดุที่ใช้จะเป็นพวกดินไม้ งา กระดูก และเขาสัตว์
นอกจากนี้ยังรวมรูปปั้นวีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟของประเทศออสเดรียไว้ด้วย







2. ยุคโลหะ ผลงานของยุคโลหะที่เด่น และน่าสนใจจะเป็นพวกเครื่องประดับตกแต่ง เคราองปั้นดินเผา และอนุสาวรีย์ (Megalithic) ด้านจิตรกรรมและประติมากรรมจะปรากฎหลักฐานการเขียนที่เน้นการแสดงด้วยการเขียนลวดลายให้มีลักษณะประดิษฐ์มากขึ้น และใช้เป็นรูปแบบสัญลักษณ์แทนความหมายกว้างๆ ด้านสถาปัตยกรรมนิยมสร้างอนุสาวรีย์หิน ซึ่งกรรมวิธีการสร้างอนุสาวรีย์จะทำขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์  ดังปรากฎหลักฐานกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปยุโรปตะวันตก




สมัยประวัติศาสตร์  สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกได้เป็น 2สมัย ดังนี้

1)  สมัยโบราณ เป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรโบราณต่างๆ ตั้งแต่ประมาณ 5.000 ปีมาแล้ว จนกระทั่งเมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกทำลายใน ค. ศ. 476 จึงนับว่าสิ้นสุดสมัยโบราณโดยประมาณ ซึ่งสมารถแยกกล่าวได้ดังนี้
    1.1) อียิปต์  อาณาบริเวณพื้นที่ตั้งของอียิปต์แต่เดิมนั้นเป็นแหล่งชุมชนของมนุษย์ยุค
ก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมามนุษย์ยุคหินได้พัฒนาตนเองด้วยการรู้จักนำโลหะมาใช้ จึงก้าวสู่ ยุคสำริด (Bronze Age) อารยธรรมเหล่านี้ได้สร้างพื้นฐานเป็นอย่างดีต่อความเจริญก้าวหน้าของอียิปต์ จนกลายเป็นชุมชนที่มีความเจริญเก่าแก่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง ด้านจิตรกรรม พบภายในพีระมิดตามฝาผนังห้องต่างๆ ศิลปินอียิปต์สลักภาพรูปนูนต่ำแล้วจึงระบายสีทับลงไปอีกชั้นหนึ่งด้านประติมากรรม มีการสลักรูปใบหน้าคนไว้บนหีบศพมาตั้งแต่ยุคแรกๆ รูปสลักจะคำนึงถึงความแน่น ความมีปริมาตรทึบตันตามรูปทรงของแท่นหิน ด้านสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดี
ได้แก่ สฟิงซ์ และพีระมิดต่างๆ เช่น พีระมิดแห่งเมืองกิเซห์ จะเห็นได้ว่า ศิลปะและสถาปัตยกรรมของอียิปต์จะมีลักษณะเรียบง่าย แต่ใหญ่โตมั่นคง ถาวรและสง่างาม


                                             พีระมิดแห่งเมืองกิเซห์


 1.2 ) กรีก ชาวกรีกมีเชื้อสายอินโดยูโรเปียน มีความเจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ เช่น ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศิลปกรรมแขนงต่างๆ ด้านจิตรกรรมจะปรากฏหลักฐานภาพวาดบนภาชนะเครื่องปั้นดินเผา มีการวาดภาพคน เน้นภาพทิวทัศน์ให้มีความกลมกลืนกันสกุลช่างเอเธนส์เป็นสกุลช่างนักวาดภาพที่มีชื่อเสียง และมีอิทธิพลต่อโรมันในระยะต่อมา สถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดคือ พระวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมดอริก (Doric) มีลักษณะโคนเสาใหญ่และเรียวขึ้นไปจนถึงยอด ตามลำเสาเซาะร่องเป็นทางยาว โดยที่ข้างบนจะมีแผ่นหินแบบเรียบแต่มั่นคงติดอยู่ นอกจากนี้ยังมีวิหารอีเรคติอุดม (Erechtheum) ซึ่งสร้างแบบไอโอนิก (Ionic) มีลักษณะเสาเรียวสง่างาม แผ่นหินบนหัวเสา




เป็นรูปโค้งย้อยม้วนลงมาทั้ง 2 ข้าง เหนือขึ้นไปเป็นรูปฐาน 3 ชั้น ซึ่งต่อมาพัฒนาไปเป็นแบบโครินเธียน(Corinthian) ซึ่งมีลักษณะหัวเสาเรียวกว่า “แบบไอโอนิก” และหัวเสาก็จะมีการประดับประดามากขึ้น เช่น แกะสลักเป็นรูปไม้ประดิษฐ์ ทั้งวิหารพาร์เธนอน และวิหารอิเรคติอุมต่างก็เป็นประจักษ์พยานแสดงให้เห็นถึงความงดงามของสถาปัตยกรรมกรีก ซึ่งยากที่จะหาสิ่งใดมาทัดเทียมได้ โดยเฉพาะการวางแผนผัง การระยะถูกสัดส่วน ทั้งส่วนสูง ระยะระหว่างเสา การประดับลวดลายความโค้งของหลังคา ล้วนแล้วแต่ได้ผ่านการคิดคำนวณอย่างละเอียดถี่ถ้วนและสมดุลที่สุด 
    สำหรับประติมากรรมนั้นในระยะแรกๆ ยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมอียิปต์ ซึ่งมักปรากฏในท่าทางตามแบบฉบับ คือ เท้าข้างหนึ่งก้าวไปข้างหน้า มือทั้งสองข้ากำแน่น จนกระทั่งประติมากรกรีกก็ได้แสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมา โดยแสดงถึงลักษณะของมนุษย์นิยมและความสมดุล เช่นรูปปั้นเทพหรือเทพีต่างก็แสดงความเป็นมนุษย์ เช่น รูปเทพีอธีนา (Athena) ในพระวิหารพาร์เธนอน และรูปปั้นเทพีซีอุส (Zeus) ในวิหารโอลิมเปีย (Olimpia)  ซึ่งเป็นฝีมือขั้นสุดยอดของประตากรกรีกชื่อฟีเดียส (Phidian) โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปปั้นนักขว้างจักร (diseus throwing) ฝีมือของไมรอน (Myron) ซึ่งแสดงให้เห็นร่างกายมนุษย์อันได้สัดส่วนขณะเคลื่อนไหว


 1.3 โรมัน  ชาวโรมันแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมกรีกกับความเป็นตัวของตัวเองที่ต้อการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และในขณะที่ชาวอียิปต์และชาวกรีกเป็นนักคิดในแบบของตนเอง ชาวโรมันกลับเป็นนักปฏิบัติที่มีความสามารถสูงมาก ถ้าหากปราศจากชาวโรมันที่รับและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมเสียแล้ว วัฒนธรรมกรีกทั้งหมดหรือส่วนใหญ่อาจจะสูญสิ้นไปก็ได้ ศิลปวัฒนธรรมของชาวโรมันในด้านต่างๆ ล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะที่ต่างจากชาวกรีก เช่น ลักษณะของความรับผิดชอบ เคารพในอำนาจ ความมีระเบียบวินัยเหนือเสรีภาพส่วนบุคคล   กล่าวได้ว่าชาวโรมันที่ผู้ที่คอยพิทักษ์ และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของเดิมที่ได้รับมาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีบ้างที่มีการดัดแปลง โดยสถาปนิกและวิศวกรชาวโรมันได้พยายามรักษาโครงร่าง และรูปแบบพื้นฐานของกรีกไว้ เช่น ลักษณะวัฒนธรรมของกรีกที่นิยมการประดับประดาหรูหราฟุ่มเฟือย แต่โรมันก็เน้นความใหญ่โตแข็งแรง และการดัดแปลงหัวเสาแบบโครินเธียนมาเป็นรูปโค้ง (Arch) ตามอิทธิพลอีทรัสกัน ( Etruscans) ซึ่งจะพบได้ในสิ่งก่อสร้างเพดานโค้งเพื่อคลุมเป็นหลังคาสำหรับบริเวณใหญ่ๆ ดังนั้นสถาปัตยกรรมโรมันจึงไม่มีลักษณะเรียบขนานไปกับแนวพื้นดินอย่างเช่น สถาปัตยกรรมของกรีกชาวโรมันไม่นิยมสร้างวัดถวายเทพเจ้าเหมือนชาวกรีก แต่จะสร้างตามความปรารถนาที่จะใช้ประโยชน์ เช่น สถานที่อาบน้ำสาธารณะ โรงมหรศพขนาดใหญ่ เป็นต้น   ผลงานที่มีลักษณะเด่นๆ ของชาวโรมันและเป็นที่รู้จักทั่วๆไป ได้แก่ วิหารแพนธีออน (Pantheon) โคลอสเซียม (Colosseum) หรือโรมันฟอรัม (Roman Forum) สำหรับประติมากรรมโรมันก็มีลักษณะเหมือนจริงตามธรรมชาติได้สัดส่วนงดงามเช่นเดียวกับศิลปะกรีก เนื่องจากถือหลักการเดียวกันว่า มนุษย์คือศูนย์กลางของการแสดงออกซึ่งศิลปะประเภทนี้ ในด้านจิตรกรรม
จิตรกรรู้จักวาดรูปร่างมนุษย์ได้สัดส่วนถูกต้องกับความจริงมาก โดยผลงานที่มีความสมบูรณ์พอจะมีหลงเหลืออยู่บ้างก็ที่เมืองปอมเปอี นอกจากนี้ยังนิยมนำมาเสกมาประดับตกแต่งภาพอีกด้วย


    วิหารแพนธีออน (Pantheon)



2. สมัยกลาง   ในสมัยนี้มีรูปแบบศิลปะที่สำคัญ 2 สมัย คือ
    ศิลปะสมัยโรมาเนสก์ (Romanasque) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11- 13 และ  สมัยกอทิก (Gothic) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 – 14 เป็นศิลปะที่มีรูปแบบทางศาสนาที่ชัดเจน มีลักษณะเฉพาะตัว มีผลงานเด่นชัดทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม งานโลหะ จิตรกรรม ภาพคัมภีร์ มีการใช้สื่อเพื่อแสดงออกทางศิลปะหลากหลาย ศิลปะทั้งสองลักษณะนี้ได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรป  โดยเฉพาะผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ได้แสดงให้เห็นถึงการออกแบบและก่อสร้างตกแต่งที่ประณีต ซับซ้อนมากขึ้น ความแตกต่างทางด้านสถาปัตยกรรมของโรมาเนสก์ และกอทิก  เป็นการเพิ่มหน่วยย่อยในบริเวณว่างเข้าไปสู่โครงสร้างหลักท้ายสุด ดังนั้นอาคารก็คือผลรวมของส่วนย่อย ส่วนศิลปะแบบกอทิกจะมีลักษณะแสดงหน่วยรวมในการออกแบบอย่างชัดเจนมากกว่าศิลปะโรมาเนสก์ โดยรูปทรงส่วนรวมเกี่ยวกับการแสดงออกของรวมมวลรูปทรง นิยมใช้โค้งกลม  โค้งแหลมในงานสถาปัตยกรรม เสามั่นคง แข็งแรง วิหารที่เป็นตัวอาคารจะมีลักษณะสูงแหลมเสียดฟ้า มีการตกแต่งด้วยกระจกสีอันตระการตา ฉะนั้นจะเห็นสถาปัตยกรรมแบบกอทิก จึงเสมือนกับการสร้างขึ้นมาเพื่อบูชา พระเจ้า ซึ่งความงามเหนือธรรมชาติเช่นนี้สัมพันธ์กับคำสอนและปรัชญาของคริสต์ศาสนาในช่วงเวลานั้น ภายในโบสถ์และประตูของศิลปะแบบกอทิกมักจะได้รับการตกแต่งในบริเวณค่อนข้างจำกัด รูปทรงคนแข็งกร้าวการตกแต่งเป็นแบบตายตัว   ประติมากรรรมสมัยกอทิกจึงเป็นศิลปะที่ได้พัฒนาไปสู่รูปทรงที่เป็นธรรมชาติมากกว่าศิลปะแบบโรมาเนสก์

ยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ ( Renaissance )
คริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุโรปมีความตื่นตัวทางด้านการพาณิชย์และแสวงหาดินแดนในโลกใหม่
อันนำมาซึ่งลัทธิการล่าอาณานิคม ส่วนในทางศิลปะนั้น
ศิลปินมีความกล้าที่จะแหวกวงล้อมของอิทธิพลศิลปะโกธิค
ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ส่วนในทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์ มีการค้นพบระบบสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัส
การค้นพบกระบวน การพิมพ์หนังสือของ กูเตนเบอร์กและฟุสท์ 
อิตาลี ถือว่าเป็นศูนย์กลางของความเจริญก้าวหน้าที่สำคัญ

โดยเฉพาะในเรื่องของศิลปกรรม
ศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ เป็นยุคสมัยที่มีคุณค่ายิ่งต่อวิวัฒนาการทางจิตรกรรมของโลก
คือ ความมีอิสระในการสร้างสรรค์ศิลปะของมนุษย์ ความมีลักษณะเฉพาะตัวของศิลปิน กล้าที่จะคิดและแสดงออกตามแนวความคิดที่ตนเองชอบ และต้องการแสวงหา  
นับเป็นบันไดก้าวแรกที่จะนำทาง ไปสู่การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสมัยใหม่ในเวลาต่อมา งานจิตรกรรมมีความตื่นตัวและเจริญก้าวหน้า ทางเทคนิควิธีการเป็นอย่างมาก ได้มีการคิดค้นการเขียนภาพลายเส้นทัศนียภาพ ( Linear Perspective ) ซึ่งนำไปสู่การเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงาม นอกจากนี้ศิลปินได้พยายามศึกษากายวิภาค ด้วยการผ่าตัดศพ พร้อมฝึกวาดเส้น สรีระและร่างกายมนุษย์อย่างละเอียด แสดงกระดูกและกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง     
ความเจริญก้าวหน้าในงานจิตรกรรมสีน้ำมัน
ประสบความสำเร็จอย่างสูงในยุคนี้ด้วย
1. โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ (St.Peter) ค.ศ.1506-1546
บรามานเต  เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบและคุมการก่อสร้าง แต่บรามานเตถึงแก่กรรมก่อนงานจะเสร็จ จึงเป็นภาระหน้าที่ของสถาปนิกอีกหลายคน จนกระทั่ง ค.ศ.1546    มิเคลันเจโล Michelangelo  Buonarrotii ได้รับการติดต่อจากสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 3 ให้เป็นสถาปนิกรับผิดชอบออกแบบก่อสร้างต่อไป  โดยเฉพาะอาคารที่อยู่ตรงกลาง  มิเคลันเจโลได้แรงบันดาลใจมาจากวิหารแพนธีออน ของจักรวรรดิโรมัน
 พระที่นั่งอนันตสมาคม
2. ภาพกำเนิดอาดัม (ค.ศ.1508-1512 ) มิเคลันเจโล  บูโอแนร์โรตี  Michelangelo  Buonarrotii เป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้ตกแต่งเพดานโบสถ์ซิสทีน
ด้วยวิธีการวาดภาพปูนเปียก 
Fresco คือเขียนภาพในขณะที่ปูนยังไม่แห้ง 

เพื่อสีจะได้ซึมเข้าไปในเนื้อปูน อันมีผลต่อความคงทน  
 3. ภาพโมนา ลิซา Mona Lisa (ค.ศ.1503-1505) เลโอนาร์โด ดา วินชี Leonardo Da Vinci
เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้า ขนาด 30.5 X 21 นิ้ว 
แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดแบบเลียนแบบธรรมชาติ  
การพิถีพิถันเรื่องการจัดวางมือที่งดงาม 
แววตาและรอยยิ้มอย่างมีเลศนัย 
การนำธรรมชาติมาเป็นฉากหลังและสร้างมิติใกล้ไกลแบบวิทยาศาสตร์
การเห็น (ทัศนียภาพหรือPerspective) 
เลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นผู้ริเริ่มการเขียนภาพแบบ
แสดงค่าตัดกันระหว่างความมืดกับความสว่าง 
ที่เรียกว่า คิอารอสกูโร( Chiaroscuro )          
 
ภาพอาหารมื้อสุดท้าย The Last Supper
เป็นงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงอีกภาพหนึ่งของเลโอนาร์โด ดา วินชี
 4. ดาวิด David  ( ค.ศ.1501-1504 ) มิเคลันเจโล           
รูปสลักรูปดาวิด เป็นหินอ่อน 
 มีความสูงถึง 13 ฟุต 5 นิ้ว เป็นการถ่ายทอดรูปแบบ 
ที่มีกรีกและโรมันเป็นแนวทาง
จึงทำให้รูปดาวิดมีลักษณะทางกายภาพสอดคล้องกับอุดมคติ
ของกรีกและโรมัน
 ที่เน้นความสมบูรณ์ทางสรีระ 
การจัดท่วงท่าที่งดงาม ด้วยการใช้ขาข้างหนึ่งรับน้ำหนัก 
 อีกข้างหนึ่งงอพัก แขนข้างหนึ่งห้อยขนาน 
อีกข้างหนึ่งยกขึ้นในอิริยาบถที่ไม่ซ้ำกับแขนอีกข้างรูปดาวิด 
 
ให้ความรู้สึกที่สง่างาม มีท่วงท่าที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ 
 
   
 
                
ปิเอต้า (Pieta) เป็นผลงานประติมากรรมของมิเคลันเจโลที่สวยงามมากอีกชิ้นหนึ่ง The School of Athens
 
4.) ศิลปะบาโรก ( Baroque ) ค.ศ.1580 - 1750
เป็นยุคที่มีการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อการแสดงออกที่เรียกร้องความสนใจ
มากเกินไปมุ่งหวังความสะดุดตาราวกับจะกวักมือเรียกผู้คนให้มาสนใจศาสนา 
การประดับตกแต่งมีลักษณะฟุ้งเฟ้อเกินความพอดี 
      1. พระราชวังแวร์ซายล์ส Versailles (ค.ศ.1661 - 1691) 
ร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14  ของประเทศฝรั่งเศส 
ใช้เงินไปประมาณ 500 ล้านฟรังส์ จุคนได้ประมาณ 10,000 คน 
เพื่อประกาศให้นานาประเทศได้เห็นถึงอำนาจและบารมีของพระองค์
   2. ความปลาบปลื้มยินดีของเซนต์เทเรซา 
 St.Theresa  (ค.ศ.1645 - 1652) ศิลปิน เบอร์นินี
 เป็นงานประติมากรรมที่แสดงอาการความรู้สึกเคลื่อนไหวมีชีวิต
 ประหนึ่งว่ามีลมหายใจ  ผลงานชิ้นนี้บ่งบอกถึงการทำงาน
อย่างมีการวางแผน
เพื่อให้ผลงานและพื้นที่ทั้งหมดอยู่ร่วมกันได้อย่างงดงามและกลมกลืน
      3. ภาพยามกลางคืน In the night ( ค.ศ.1664 ) 
โดย เรมบรานด์ท แวน ไรน์ Rembrandt van Rijn 
เป็นงานจิตรกรรมที่มีการใช้แสงเงากำหนดพื้นที่สว่างบนเงาเข้มได้อย่างยอดเยี่ยม
      
5.) ศิลปะโรโคโค ( Rococo ) ค.ศ. 1700 - 1789
เป็นผลงานศิลปะที่สะท้อนความโอ่อ่า หรูหรา 
 ประดับประดาตกแต่งที่วิจิตรละเอียดละออส่งเสริมความรื่นเริง ยินดี 
ความรัก กามารมณ์
1. ภาพกำเนิดวีนัส ( ค.ศ.1754 ) โดย บูเชร์   
เป็นศิลปินผู้มีฐานะและบทบาทสำคัญโดยเป็นผู้นำที่รับผิดชอบทางด้านจิตรกรรม
ของราชสำนักผลงานจิตรกรรมของเขาแสดงสีสันที่สวยงาม 
สอดคล้องกลมกลืนกับเรื่องราว 
เสนอเรื่องราวที่ให้ความรื่นเริง ชวนฝัน อิ่มสุข ซึ่งรสนิยมดังกล่าวมีปรากฏให้เห็น
อยู่ในพระราชวังแวร์ซายล์ส
 2. การตกแต่งภายในโบสถ์ที่บาวาเรีย  ( ค.ศ.1767 หรือ พ.ศ.2310 ) 
 
ศิลปะการตกแต่งพัฒนาไปสู่ความวิจิตรมากยิ่งขึ้น 
โดยได้รับการสนับสนุนจากราชสำนัก
 ตลอดจนชนชั้นสูงเป็นพิเศษ การตกแต่งห้องจะสะท้อนให้เห็นถึง ความละเอียดละออ 
ประณีต สีสันของบรรยากาศที่เปี่ยมสุขจนแทบไม่มีที่ว่างแห่งความเศร้าหมอง
เข้าสอดแซม
            
3. แบจิอัส  โดย ฟอลโคเนท์  Etienne Maurica Falconet 
( ค.ศ.1760-1780 )  
เป็นประติมากรรมหินอ่อน ที่ใช้ตกแต่งมีขนาดสูงเพียง 38 ซม.
ลักษณะบ่งบอกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของกรีก-โรมัน
สมัยฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ จนถึงสมัยบาโรก 
ซึ่งนิยมแสดงออกในรูปแบบที่เลียนแบบจากธรรมชาติ 
นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความกลมกลืนกับคตินิยมของสมัยโรโคโค 
โดยเฉพาะทางด้านเรื่องราวและการจัดท่าทาง
ที่มุ่งหวังทำให้เกิดความรู้สึกชื่นชมในสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้กับมนุษย์
                                             
6.) ศิลปะคลาสสิกใหม่ ( Neoclassic )  ค.ศ. 1780 - 1840
เป็นลัทธิทางศิลปะที่เก่าแก่ที่สุด 
ได้ฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกอันงดงามของกรีกและโรมันกลับมาสร้างใหม่
 
ปรัชญาที่ว่าศิลปะ คือ ดวงประทีปของเหตุผล  
โดยเน้นความประณีต ละเอียดอ่อน นุ่มนวล และเหมือนจริง
ด้วยสัดส่วนและแสงเงา   
เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของศิลปะสมัยกลางและศิลปะสมัยใหม่ 
เป็นประตูของประวัติศาสตร์บานสำคัญที่ทำหน้าที่แง้มไปสู่โลกแห่งเสรีภาพ
อันมีผลต่อการคิดค้นสร้างสรรค์ศิลปะอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
      1. ภาพความตายของโซคราติส  โดย ดาวิด David   ค.ศ.1787 
 แสดงให้เห็นความสมจริงตามแบบตามองเห็น การกำหนดมิติ 
น้ำหนัก แสงเงา ยังอาศัยอิทธิพลดั้งเดิมของศิลปะสมัยกลาง
มีการนำลักษณะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมสมัยกรีกและโรมัน
มาสร้างเป็นภาพพื้นหลังแสดงเรื่องราวในสมัยกรีกและโรมัน
ซึ่งจะแฝงไว้ด้วยความรักชาติ ความเสียสละ สำนึกรับผิดชอบต่อประชาชน
        
2. ภาพคำสาบานของพวกฮอราติไอ โดย ดาวิด David  ค.ศ.1784
เป็นเรื่องราวความรักชาติของนักรบโรมัน 3 คนที่รับดาบจากบิดา เพื่อสู้รบกับศัตรู 
โดยยึดถือผลประโยชน์ของรัฐ เป็นหลัก ส่วนครอบครัว 
คนรักและความผูกพันระหว่างพี่น้องเป็นผลประโยชน์ด้านรอง
   
                           ศิลปะสมัยใหม่ ( Modern Art )
1.) ศิลปะจินตนิยม ( Romanticism ) ประมาณ ค.ศ. 1800 1900 ก่อเกิดในอังกฤษและฝรั่งเศสช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน มีทรรศนคติที่ต้องการความเป็นอิสระ ในการแสดงออกที่ศิลปินต้องการมากกว่าการเดินตามกฏเกณฑ์ และแบบแผนทางศิลปะ ดังที่ศิลปินลัทธิคลาสสิกใหม่ยังยึดถืออยู่เป็นศิลปะ ที่เน้นอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล มุ่งสร้างสรรค์งานที่ตื่นเต้น เร้าใจ ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้ชม
1. ภาพ 3 พฤษภาคม 1808 โดย โกยา Francisco Goya ( ค.ศ.1814 )
เป็นภาพแสดงเหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศส
       
2. ภาพ เสรีภาพนำหน้าประชาชน 
 
โดย เดอลาครัวซ์ Eugene Delacroix ( ค.ศ.1830 )
 เดอลาครัวซ์เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศสที่พัฒนาตนเองมาจากการศึกษาศิลปะ
ในอดีตจนกลายเป็นผู้นำลัทธิจินตนิยม 
 
งานจิตรกรรมชิ้นนี้เป็นภาพที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์การปฏิวัติในฝรั่งเศส 
 จะเห็นว่าภาพนี้สามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึกได้อย่างน่าตื่นเต้น
นับตั้งแต่การเลือกเรื่องราว การจัดภาพ การกำหนดแสงเงาที่ตัดกันเอกภาพของทิศทางของกลุ่มคนยืน
 ขัดแย้งกับทิศทางของผู้บาดเจ็บล้มตาย 
การให้ความสำคัญในท่าทางอิริยาบถของทุกคน 
 
การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านท่าทาง ใบหน้า และดวงตา
 
 
3. ภาพ การอับปางของแพเมดูซา โดย เจริโคท์ 
Theodore Gericault ( ค.ศ.1819)
 เรื่องราวที่เขียนเกิดจากการได้รับทราบเหตุการณ์
การประสบอุบัติเหตุเรือแตกของเรือลำหนึ่ง 
โดยมีผู้รอดชีวิตจำนวนหนึ่งต้องเผชิญกับภัยอย่างอ้างว้างบนแพอันจำกัด
กลางท้องทะเลแห่งคลื่นลมและความหิวมีวิธีการจัดภาพ
โดยการกำหนดแสงเงาแบบสว่างจัดมืดจัดตัดกันอย่างรุนแรงอิริยาบถของผู้คน
ได้รับการจัดท่าทางอย่างสมบทบาทการแสดงออกบนใบหน้าและท่าทาง
ทำให้เกิดความรู้สึกที่หลากหลายนับตั้งแต่ลีลาที่อ่อนล้าโรยแรง
จนถึงความตื่นเต้นเมื่อแลเห็นเกาะอยู่ลิบๆ
 4. ภาพ พายุหิมะ โดย เจ เอ็ม ดับบลิว เทอร์เนอร์ 
Joseph Mallord William Turner ( ค.ศ. 1841 - 1842 )
 
เทอร์เนอร์เป็นศิลปินชาวอังกฤษที่ทำงานด้านปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
และทิวทัศน์
 ในภาพพายุหิมะเป็นการถ่ายทอดบรรยากาศของเรือกลไฟที่ใกล้จะอับปาง
ท่ามกลางคลื่นลมกลางทะเล  
                     
2.) ศิลปะสัจนิยม ( Realisticism ) กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19
      ศิลปินในยุคนี้ได้แก่ กุสตาฟ คูร์เบท์,ฌอง ฟรังซัวส์ มิล์เลท์
1. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ ภาพร่อนข้าวโพด 
The Corn Sifters     วาดโดย กุสตาฟ  คูร์เบท์ 
Gustave Courbet ค.ศ.1855  
  
 2. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ ภาพคนเก็บข้าวตก  
The Gleaners    วาดโดย ฌอง ฟรังซัวส์  มิล์เลท์
 Jean-Francois Millet ค.ศ.1857
          
3.) ศิลปะลัทธิประทับใจ ( Impressionism ) ศิลปะแห่งความงดงาม
ของประกายแสงและสี
ศิลปะลัทธิประทับใจ  จะแสดงภาพทิวทัศน์บก ทะเล ริมฝั่ง 
เมืองและชีวิตประจำวันที่รื่นรมย์ เช่น 
การสังสรรค์ บัลเลต์ การแข่งม้า สโมสร นิยมเขียนภาพนอกห้องปฏิบัติงาน 
รูปแบบของศิลปะลัทธิประทับใจ 
พยายามแสดงคุณสมบัติของแสงสี อันเป็นผลมาจากความรู้ 
เกี่ยวกับแสงจากสเปกตรัมและสี
 ซึ่งเป็นผลผลิตจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ 
โดยพยายามบันทึกการสะท้อนแสงบนพื้นผิวของวัตถุ
รวมทั้งสภาพบรรยากาศในแต่ละช่วงเวลา 
ไม่สนใจต่อการแสดงรูปทรงให้โดดเด่นใช้สีสดใสตามสีของสเปกตรัม 
 
ระบายด้วยรอยแปรงหยาบๆทับซ้อนกันหลายครั้ง 
 ศิลปินนิยมใช้สีเหลืองในบริเวณแสง สีม่วงในบริเวณเงา 
ไม่นิยมใช้สีดำหรือสีน้ำตาล เพราะเป็นสีที่ไม่อยู่ในสเปกตรัม
ศิลปินในยุคนี้ได้แก่ มาเนท์,โคลด  โมเนท์, เรอนัวร์ ,เดอร์กาส์,
พีส์ซาร์โร,ซิสเลย์ รวมทั้งประติมากร โรแดง และ รอสโซ
 1. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ อาหารกลางวันบนสนามหญ้า 
Lunch on the Grass        
 าดโดย มาเนท์ Edouard Manet  ค.ศ.1863
เป็นภาพที่สร้างความแปลกและตื่นตระหนกให้แก่ชาวฝรั่งเศสเป็นอันมาก เพราะเป็นภาพที่ผู้ชายแต่งกายเรียบร้อยและผู้หญิงเปลือยกาย
 
                 
  2. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ ความประทับใจเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น
 Impression Sunrise    
 วาดโดย โคลด  โมเนท์ Claude Monet  ค.ศ.1872
เป็นภาพที่เป็นที่มาของคำว่า " ประทับใจ " ซึ่งทำให้เกิดเป็นศิลปะลัทธิประทับใจขึ้น
                           
 3. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ สวนที่จิแวร์นี  Garden at Giverny         
 วาดโดย โคลด  โมเนท์ Claude Monet  
                           
4. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ ห้องเรียนเต้นรำ The Dancing Class 
วาดโดย เดอร์กาส์ Edgar Degas
    
          
5. ภาพผลงานประติมากรรมชื่อ นักคิด The Thinker  
โดย โรแดง Auguste Rodin
 
เป็นงานประติมากรรมที่แสดงพื้นผิวที่ขรุขระ
แสดงถึงอารมณ์เก็บกดและทรมานภายในใจ
                                   
4.) ศิลปะลัทธิประทับใจใหม่ ( Neo - Impressionism )
สีจากแสงสเปกตรัมมาสู่อนุภาค
เกิดเทคนิคการระบายสีเป็นจุด ( Pointilism ) 
ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อทางฟิสิกส์ว่า 
แสง คือ อนุภาค  โดยการระบายสีให้เกิดริ้วรอยพู่กันเล็กๆ ด้วยสีสดใส 
จุดสีเล็กๆ นี้จะผสานกันในสายตา
ของผู้ดู มากกว่าการผสมสีอันเกิดจากการผสมบนจานสี
 ศิลปินคนสำคัญในยุคนี้ ได้แก่ จอร์จส์   เซอราท์,คามิลล์ พีส์ซาร์โร,พอล ซิยัค
1. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากรองด์แจตท์  
Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte
โดย จอร์จ  เซอราท์ Georges Seurat ค.ศ.1886
                      
 2. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ ถนนมองท์มาร์ทยามพลบค่ำ  
Boulevard Montmartre in the Evening  
 
โดย คามิลล์ พีส์ซาร์โร Camille Pissaro ค.ศ.1897
                   
  4. ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง ( Post - Impressionism )
  ศิลปินในยุคนี้ ได้แก่ พอล   เซซานน์,วินเซนต์   ฟานโกะ,พอลโกแกง
 และ ทูลูส - โลเทรค
  1. ภาพผลงานจิตรกรรม ชื่อ ห้องนอนที่อาลส์ 
The Bedroom at Arles  
วาดโดย วินเซนต์  ฟานโกะ Vincent van Gogh
                
  2. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ ณ มูแลง รูจ 
วาดโดย ทูลูส - โลเทรค Henri de Toulouse-Lautrec 
                        
3. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ ราตรีประดับดาว The Starry Night                           
วาดโดย วินเซนต์ ฟานโกะ Vincent van Gogh ค.ศ.1889

Wheat Crows
 
4. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ หุ่นนิ่งกับแอปเปิ้ล Still Life with Apples 
โดย พอล   เซซานน์ Paul  Cexanne  ค.ศ.1890 - 1900
        
5. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ เมื่อไรเธอจะแต่งงาน 
When are You to be Married โดย  พอล   โกแกง  
Paul Gauguin ค.ศ. 1892
                               
  6.) ศิลปะลัทธิบาศกนิยม ( Cubism )  ค.ศ. 1907 - 1910 
ศิลปินคนสำคัญในยุคนี้ ได้แก่ พาโบล   ปิคาสโซ,จอร์จส์   บราคและ
 เฟอร์นานด์   เลเจร์
1.  ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  หญิงสาวแห่งอาวิยอง 
Les Demoiselles d'Avignon          
โดย พาโบล   ปิคาสโซ  Pablo Picasso ค.ศ. 1807
               
 2. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  ชาวโปรตุเกส The Portuguese  
โดย จอร์จส์   บราค Georges Braque   
                                
 3. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  ผู้หญิงสามคน โดย  เฟอร์นานด์ เลเจร์ 
Fernand  Leger  ค.ศ. 1921
                          
   7.) ศิลปะลัทธิเหนือจริง ( Surrealism ) 
ศิลปกรรมที่เปิดเผยความฝันและจิตใต้สำนึก
 การแสดงออกทางจิตรกรรมของศิลปินลัทธิเหนือจริงมีหลายแนวทางเช่น
การสร้างสรรค์รูปทรงจากจิตใต้สำนึก 
การใช้รูปทรงจากโลกที่มองเห็นได้เป็นตัวสื่อในการแสดงออก
อาจเป็นเรื่องของความฝันฝันร้าย อารณ์เก็บกด  
เรื่องราวจากตำนาน  เรื่องเร้นลับ  การท้าทาย  ศาสนา 
 การเปรียบเทียบสิ่งที่แปลกแตกต่างกัน แสดงออกในสภาพที่เพ้อฝัน  
น่าตื่นตระหนก  น่าหวาดกลัว  แดนสนธยา 
 เป็นการใช้สีและสร้างบรรยากาศที่ลึกลับ
      1. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  วันเกิด Birthday  
 โดย  มาร์ค     ชากาลล์ Marc  Chagall  ค.ศ 1915
        
     2. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  เทศกาลตลก โดย โยฮัน   มิโร 
Joan  Miro ค.ศ 1924 - 25
             
      3. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  ความทรงจำที่ฝังแน่น
The Persistence of Memory  
โดย  ซัลวาดอร์   ดาลี Salvador  Dali ค.ศ. 1931
             
  8.) ศิลปะลัทธินามธรรม ( Abstractism ) ศิลปะไร้รูปลักษณ์
 ศิลปินแสดงออกโดยการสกัดรูปทรงจากธรรมชาติให้ง่ายปล่อยให้รูปทรงปรากฏขึ้น
ตามลีลาหรือกลวิธีในการแสดงออก 
 บางครั้งก็สร้างรูปทรงให้ปรากฏขึ้นจากความคิดอันเป็นนามธรรม
 ศิลปินสร้างเส้น รูปทรง สี จากการใช้ญาณวินิจฉัย โดยไม่ต้องพึ่งเส้นรูปทรง สี 
จากธรรมชาติ
 การแสดงออกเป็นผลจากพลังจิตใต้สำนึก ตามเส้นทางของจิตวิทยา
 กลวิธีของการแสดงออก ได้แก่ การใช้สีราด หยด หยอด ใช้แปรงละเลง
 ระบายอย่างหยาบกร้านการสาดสี เป็นต้น
 ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ แจคสัน   พอลลอค,วาสสิลี   แคนดินสกี, พีท   มองเดรียง
     1. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  องค์ประกอบสีแดง เหลือง และน้ำเงิน 
โดย พีท   มองเดรียง Piet  Mondrian  ค.ศ.1921
                 
      2.  ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ เอกนัย  Convergence 
โดย  แจคสัน   พอลลอคJackson  Pollock ค.ศ.1952
             
     3. ภาพผลงานจิตรกรรมชื่อ  ความปิติ Small Pleasure 
โดยวาสสิลี  แคนดินสกี Wassili  Kandinsky ค.ศ. 1913















1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ28 มกราคม 2565 เวลา 10:32

    Merkur Merkur Safety Razors - Curacao Casino
    Merkur Merkur Safety หารายได้เสริม Razors · Open Comb (DE) · Open Comb (DE) · Open Comb (DE) · Open Comb (DE) · Open Comb (DE) · Open Comb (DE) · Open 메리트 카지노 Comb (DE) · Open Comb (DE) · Open Comb (DE) · Open Comb (DE) septcasino · Open

    ตอบลบ